กลยุทธ์การบริหารการผลิต


กลยุทธ์การบริหารการผลิต
                                         

การบริหารธุรกิจย่อมต้องมีการวางแผนดำเนินการต่างๆ ในระยะยาว เพื่อเป็นพื้นฐาน
  สำคัญในการกำหนดทิศทางขององค์การ การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning)
เป็นการมองการณ์ในอนาคตด้วยวิสัยทัศน์อันยาวไกล เพื่อสร้างแผนงานอันต่อเนื่องและ
ดำรงแนวทางการดำเนินงานให้ถูกทิศทาง

      1 ระดับของแผนงานกลยุทธ์สำหรับองค์การธุรกิจ
         - แผนกลยุทธ์ระดับองค์การ (Corporate-level Strategic Plan) เป็นแผนงานที่กำหนด
พันธะกิจ (Mission) ขององค์การโดยรวม ซึ่งแสดงโอกาสและช่องทางในการดำเนินธุรกิจ ช่วยจัดสรรทรัพยากรขององค์การอย่างทั่วถึงและเหมาะสม และเปิดช่องทางใน
การทำธุรกิจใหม่ๆ แผนกลยุทธ์ระดับองค์การวางแนวทางให้แต่ละหน่วยธุรกิจของ
องค์การ (Single Business Unit: SBU) มีกรอบของการดำเนินงานอย่างชัดเจน

         - แผนกลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business-level Strategic Plan) เป็นแผนงานที่หน่วยธุรกิจ
ขององค์การจะแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่น โดยแสดงถึงวัตถุประสงค์หลักของธุรกิจ
และวิธีการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์นั้น แผนกลยุทธ์ระดับธุรกิจนี้ต่อเนื่องมาจากแผนกลยุทธ์ระดับองค์การ
         - แผนกลยุทธ์ระดับหน้าที่หรือผลิตภัณฑ์ (Functional หรือ Product-level Strategic Plan)
เป็นแผนงานในระดับฝ่ายของหน้าที่ต่างๆ ซึ่งเป็นทั้งแผนวัตถุประสงค์และวิธีการดำเนินงานที่สืบเนื่อง
รายละเอียดต่อจากแผนกลยุทธ์ระดับธุรกิจ
         แผนกลยุทธ์การบริหารการผลิตเกิดขึ้นจาการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การประกอบ
กับสมรรถนะของทรัพยากรภายในองค์การเอง ดังที่เรียกว่า การวิเคราะห์ปัจจัยภายในและสภาวะภายนอกองค์การ (SWOT Analysis) อันประกอบด้วย

                                         


                                         

2 ขั้นตอนของการสร้างแผนกลยุทธ
                                          ์

         ขั้นตอนที่ 1 : กำหนดงานหลัก (Primary Task) โดยระบุเป็นพันธะกิจ (Mission) ที่บ่งบอกถึงแนวทางในอนาคตขององค์การที่วางไว้อย่างมีวิสัยทัศน์ ไม่กว้าง ไม่แคบเกินไป ระบุเป็นเชิงปริมาณที่ชัดเจนเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมหลักขององค์การ

         ขั้นตอนที่ 2 : ยึดมั่นในข้อได้เปรียบหลัก (Core Competency) ที่องค์การมีเหนือคู่แข่งขันรายอื่นๆ จึงเรียกข้อได้เปรียบหลักได้อีกอย่างหนึ่งว่า Distinctive Competence หรือ Competitive
         Advantage ข้อได้เปรียบหลักควรจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และมีคุณค่าในสายตาลูกค้า โดยที่คู่แข่งขันไม่สามารถเลียนแบบได้ง่าย ข้อได้เปรียบหลักประกอบด้วยแรงงาน สิ่งอำนวยความสะดวก ระบบของเทคโนโลยี ตลอดจนความแข็งแกร่งของการปฏิบัติการทางการตลาดและการเงิน

การบริหารการผลิต / ความหมายของการบริหารการผลิต
องค์ประกอบของการผลิต
/ วิวัฒนาการของการบริหารการผลิต
วัตถุประสงค์ในการบริหารการผลิต / ประเภทของการผลิต
กลยุทธ์การบริหารการผลิต / วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์