การบริหารการผลิต


การผลิตเป็นการสร้างอรรถประโยชน์หรือประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับปัจจัยการผลิตชนิด
ต่างๆ เพื่อให้เกิดเป็นสินค้าและบริการเพื่อบำบัดความต้องการของผู้บริโภค ปัจจัยการผลิต
แบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทุน และผู้ประกอบการ โดยผลตอบแทนของการใช้ปัจจัยการผลิตจะอยู่ ในรูปของค่าเช่า ค่าจ้าง ดอกเบี้ย
และกำไร ตามลำดับ นอกจากนี้ เรายังแบ่งปัจจัยการผลิตดังกล่าว ออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ปัจจัยคงที่และปัจจัยผันแปร อรรถประโยชน์แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ อรรถประโยชน์
จากการแปรรูป อรรถประโยชน์จากการเปลี่ยนสถานที่ อรรถประโยชน์ทางด้านเวลา อรรถประโยชน์ทางด้านกรรมสิทธิ์ และอรรถประโยชน์ทางด้านบริการ ต้นทุนการผลิตคือค่าใช้จ่ายในปัจจัยการผลิตที่ใช้ในกระบวนการผลิต แบ่งออกเป็นต้นทุนคงที่กับต้นทุนผันแปร ตามประเภทของการใช้จ่ายในปัจจัยคงที่และ
ปัจจัยผันแปร นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตยังแบ่งออกเป็นต้นทุนทางบัญชีและต้นทุน
ทางเศรษฐศาสตร์ ระยะเวลาการผลิตในทางเศรษฐศาสตร์แบ่งออกเป็นระยะสั้น ซึ่งเป็นระยะเวลาที่มีการใช้ปัจจัยคงที่ร่วมกับปัจจัยผันแปรในกระบวนการผลิต และระยะยาว
ซึ่งเป็นระยะที่ ปัจจัยการผลิตทุกประเภทเป็นปัจจัยผันแปรหมด การผลิตขนาดใหญ่เป็นการผลิตที่ได้ผลผลิตคราวละ จำนวนมาก อาศัยหลักของการแบ่งงานกันทำ เน้นใช้ปัจจัยทุนซึ่งได้แก่เครื่องมือเครื่องจักรเป็นสำคัญ ลำดับขั้นของการผลิต ได้แก่ การผลิตขั้นปฐมภูมิ (ขั้นแรก) การผลิตขั้นทุติยภูมิ (ขั้นที่สอง) และการผลิตขั้นตติยภูมิ (ขั้นที่สาม)

การบริหารการผลิต
                การผลิตเป็นการสร้างสรรค์สินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการมนุษย์ ผู้ซึ่งมีความต้องการอย่างไม่สิ้นสุด แต่เนื่องจากการมีทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้น จึงได้เข้ามาเป็นตัวกำหนดบทบาทในกระบวนการผลิตเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงทำให้เกิด
การบริหารการผลิต เพื่อช่วยให้ผลผลิตที่ออกมามีคุณภาพ และตรงตามความต้องการของมนุษย์ อีกประการหนึ่งยังเป็นการช่วยให้เรานำเอาทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้น มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย โดยการผลิตมีการแปรรูปปัจจัยนำเข้าต่างๆ ผ่านกระบวนการที่ทำให้ผลผลิตที่ได้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากกว่าปัจจัยนำเข้า ดังนั้นการผลิตจึงเป็นหนึ่งในหน้าที่หลักของการบริหารธุรกิจที่มีผลโดยตรงต่อความอยู่รอด
ขององค์การ และต้องสัมพันธ์เกี่ยวกับหน้าที่อื่น อาทิเช่น ความสัมพันธ์ในหน้าที่ของฝ่ายการตลาด ฝ่ายการเงิน และฝ่ายการผลิต ภายในองค์กรธุรกิจใดๆ ซึ่งเริ่มจากฝ่ายการตลาดมีหน้าที่ค้นหา และเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการ และฝ่ายการเงินจัดสรรเงินทุนทรัพยากรมาให้ฝ่ายการผลิตใช้สร้างสิ่งที่ลูกค้าต้องการให
้เป็นรูปธรรมขึ้นมา ซึ่งการดำเนินงานของทั้งสามหน้าที่หลักนี้ ต้องมีประสิทธิภาพพร้อมทั้งต้องประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้องค์การธุรกิจบรรลุเป้าหมายสูงสุด นั้นก็คือ กำไรจาการดำเนินธุรกิจ

การบริหารการผลิต / ความหมายของการบริหารการผลิต
องค์ประกอบของการผลิต
/ วิวัฒนาการของการบริหารการผลิต
วัตถุประสงค์ในการบริหารการผลิต / ประเภทของการผลิต
กลยุทธ์การบริหารการผลิต / วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์